
มะเต้า (แตงโม)
ชื่อสมุนไพร แตงโม
ชื่ออื่น ๆ /ชื่อท้องถิ่น บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโต (ภาคอีสาน), แตงจีน, ลูกแตง (ภาคใต้), ซีกวย (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citullus lanatus (Thumb). Matsum. & Nakai
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citullus vulgaris S chard L.
ชื่อสามัญ Watermelon
วงศ์ CUCURBITACEAE
ลักษณะทั่วไปของแตงโม
แตงโม จัดเป็นพืชในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชล้มลุกประเภทไม้เถา ลำต้น หรือ เถามีสีเขียวปนเทามีขนสาก ๆ ขึ้นตามเถา และมีมือเกาะแยก 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับบริเวณข้อของเถาใบมีลักษณะเป็นแบบนิ้วมือใบสากเล็กน้อย มีรอยเว้าลึก 3 รอยข้าง ๆ มีรอยเว้าตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้าง 5-18 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร และมีก้านใบยาว 3-12 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ก้านดอกเล็กมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม มีกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่ม กลีบดอกมีสีเหลืองมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันมีเกสรเพศผู้ 3 อันสั้นๆ ส่วนดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่า รังไข่กลมมีขน ท่อรังไข่สั้น ปลายท่อมี 3 แฉก มีก้านดอกสั้น
ผล กลม หรือ ค่อนข้างกลมผิวเรียบหัวท้ายมนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวนอกสีเขียว หรือ สีเขียวอ่อน หรือ ลายสีเขียวอ่อนแก่สลับกัน เนื้อในผลเมื่ออ่อนมีสีขาวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง หรือ เหลืองรสหวานฉ่ำน้ำและมีเมล็ดมาก ส่วนเมล็ดสีน้ำตาลดำรูปรีแบน ผิวเรียบ
คุณค่าทางโภชนาการ แตงโมนิยมรับประทานผลสด เนื้อมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โพแทสเซียมและวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินเอ มีมากเป็นพิเศษในเนื้อสีแดง นอกจากนี้ยังมีสาร citrulline ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยถอนพิษสุราได้ และมีเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร น้ำแตงโม ช่วยให้ร่างกายขับปัสสาวะได้ดี ช่วยล้างไตและกระเพาะปัสสาวะ บรรเทาอาหารผิวหนังแห้งกร้านอันเนื่องมาจากภาวะเลือดเป็นกรด เพราะกินเนื้อสัตว์ ของทอด ขนมหวาน อาหารแป้งขัดขาว และเครื่องดื่มพวกกาแฟหรือน้ำอัดลมมากเกินไป น้ำแตงโมจะช่วยไม่ให้ร่างกายสะสมกรดยูริก อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขข้อ และโรคเกาต์ ส่วนผลอ่อนนิยมนำมาประกอบอาหารคาว เช่น แกงส้ม แกงเลียง |
เนื้อแตงโม 100 กรัม พลังงาน 30 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 7.55 กรัม, น้ำตาล 6.20 กรัม, เส้นใยอาหาร 0.40 กรัม, ไขมัน 0.15 กรัม, โปรตีน 0.61 กรัม, น้ำ 91.45 กรัม, วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม 3%, วิตามินบี 1 0.033 มิลลิกรัม 3%, วิตามินบี 2 0.021 มิลลิกรัม 1%, วิตามินบี 3 0.178 มิลลิกรัม 1%, วิตามินบี 5 0.221 มิลลิกรัม 4%, วิตามินบี 6 0.045 มิลลิกรัม 3%, กรดโฟลิก 3 ไมโครกรัม 1%, วิตามินซี 8.1 มิลลิกรัม 14%, ธาตุแคลเซียม 7 มิลลิกรัม 1%, ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม 2%, ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%, ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม 2%, ธาตุโพแทสเซียม 112 มิลลิกรัม 2%, ธาตุสังกะสี 0.10 มิลลิกรัม 1% |
ตัวอย่างเมนูจากแตงโม 1. แตงโมโยเกิร์ตสมูทตี้ ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. แตงโมแช่แข็ง ตามชอบ 2. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1 ถ้วย 3. น้ำผึ้ง ตามชอบ ขั้นตอนวิธีการทำ เวลาเตรียมส่วนผสม: 5 นาที เวลาปรุงอาหาร: 5 นาที 1. เตรียมส่วนผสมที่ใช้ 2. ใส่ทั้งหมดลงขวด ปั่นให้เป็นสมูทตี้ 3. เทใส่แก้วพร้อมดื่ม 2. แกงส้มเปลือกแตงโมกุ้งสด ส่วนผสมวัตถุดิบ สำหรับ 2 ท่าน 1. กุ้งสด 2 ขีด 2. น้ำสะอาด 4 ถ้วย 3. เปลือกแตงโม (หั่นชิ้นพอคำ) 300 กรัม 4. น้ำปลาดี 3 – 4 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำมะขามเปียก3/4 ถ้วย ส่วนผสมเครื่องน้ำพริกแกงส้ม 1. หอมแดง 7 หัว 2. พริกแห้งเม็ดใหญ่ (ผ่าเอาเมล็ดออกแล้วแช่น้ำจนนุ่ม) 8-9 เมล็ด 3. เกลือ 1/2 ช้อนชา 4. กะปิ 1 ช้อนชา 5. เนื้อปลาต้ม(หรือเนื้อกุ้งต้ม) 1/4 ถ้วย ขั้นตอนวิธีการทำ เวลาเตรียมส่วนผสม: 15 นาที เวลาปรุงอาหาร: 15 นาที 1. นำเครื่องน้ำพริกแกงส้ม มาโขลกรวมกันจนละเอียดดี (หอมแดง พริกแห้ง เกลือ กะปิ เนื้อปลาต้ม) 2. นำน้ำใส่ในหม้อ ตั้งด้วยไฟกลาง จนน้ำเดือด ใส่น้ำพริกแกงส้มที่โขลกไว้ลงไปต้ม 3. พอเดือดอีกที น้ำพริกส่งกลิ่นหอมดี ใส่เปลือกแตงโมที่หั่นเตรียมไว้ลงไป 4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รสกลมกล่อม 5. ใช้ไฟกลางเคี่ยว จนเปลือกแตงโมสุก (ประมาณ 10-15 นาที หรือจนเปลือกแตงโมออกใส) 6. จึงใส่กุ้งลงไป พอแกงส้มเดือดอีกที ก็ปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟได้เลยค่ะ 7. แกงส้มเปลือกแตงโมรสชาติอร่อย ให้รสสัมผัสคล้ายคลึงกับมะละกอ และรสชาติอร่อยไม่แพ้มะละกอ 3. วุ้นแตงโมผลไม้รวม ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. แตงโม ½ ลูก 2. แคนตาลูปหั่นเต๋า ½ ถ้วยตวง 3. เมลอนหั่นเต๋า ½ ถ้วยตวง 4. สับปะรดหั่น ½ ถ้วยตวง 5. องุ่นไร้เมล็ด ½ ถ้วยตวง 6. สตรอว์เบอร์รีหั่น ½ ถ้วยตวง 7. แอปเปิ้ล 1 ลูก 8. เจลาตินผง 3 ช้อนโต๊ะ 9. น้ำเย็นจัด ½ ถ้วยตวง ขั้นตอนวิธีการทำ 1. เตรียมแตงโมนำแตงโมผ่าครึ่ง มาคว้านเอาเนื้อออกทั้งหมด ให้เหลือเพียงแค่เปลือกที่จะใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่วุ้นผลไม้นำเนื้อแตงโมที่คว้านไว้ ไปใส่ใน เครื่องปั่นอเนกประสงค์กรองกาก แล้วปั่นเอาแต่น้ำแตงโมเพื่อไปทำวุ้น TIP : การแยกกากออกจากน้ำแตงโมจะทำให้ได้วุ้นที่ใส และเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน คว้านเนื้อแตงโมออกมานำเนื้อแตงโมมาปั่นกรองกากเอาแต่น้ำ 2. ทำวุ้นนำเจลาตินผงเทใส่ในนำเย็นจัด คนให้เข้ากันแล้วพักไว้ 3 นาทีนำน้ำแตงโมที่ปั่นไว้ เทลงในหม้อต้มให้เดือดแล้วใส่เจลาตินที่แช่น้ำไว้ลงไป คนให้ละลายเข้ากันดี แล้วตั้งพักไว้ให้หายร้อน นำผงเจลาตินเทใส่น้ำเย็นจัด นำน้ำแตงโมและเจลาตินคนให้ละลายเข้ากัน 3. ประกอบร่างใส่แคนตาลูป เมลอน สับปะรด องุ่นไร้เมล็ด สตรอว์เบอร์รี และแอปเปิ้ล ลงในเปลือกแตงโมที่เตรียมไว้ แล้วนำน้ำแตงโมที่พักไว้เทใส่ลงไป นำเข้าตู้เย็นช่องปกติ ประมาณ 4-5 ชั่วโมง จนเซตตัว จึงนำออกมาหั่นเป็นชิ้น พร้อมจัดเสิร์ฟ! |
ประโยชน์ทางโภชนาการของการรับประทานแตงโม แตงโมเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ แถมยังประกอบด้วยน้ำ ประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรับประทานแล้วยังทำให้เราไม่ขาดน้ำอีกด้วย โดยแตงโมนั้นมีประโยชน์ทางโภชนาการดังนี้ ไลโคปีน (Lycopene) เป็นแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ชนิดหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ และยังสร้างสีแดง สีส้มและสีเหลืองในผักและผลไม้ การรับประทานอาหารที่มีไลโคปีนเป็นประจำยังยังช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วยวิตามินเอ (Vitamin A) มีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ช่วยในเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน การมองเห็น และการทำงานของอวัยวะสำคัญ ๆ วิตามินซี (Vitamin C) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระนี้จำเป็นสำหรับสุขภาพผิวและการทำงานของภูมิคุ้มกันซิทรูลีน (Citrulline) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่พบในแตงโมซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจโพแทสเซียมช่วยบำรุงระบบประสาทภายในร่างกายของเราช่วยลดการเกิดเหน็บชาและการเกิดตะคริว |
ผลข้างเคียงจากการรับประทานแตงโมมากเกินไป |
การรับประทานแตงโมที่พอดีควรทานอยู่ในปริมาณ 1 ถ้วยต่อวันหรือในปริมาณ 154 กรัม ซึ่งคนที่รับประทานแตงโมอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วเนื่องจากแตงโมมีดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) ประมาณ 72 และมีปริมาณน้ำตาลร้อยละ 2 ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จึงควรเลือกรับประทานแตงโมควบคู่กับอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และการรับประทานแตงโมอาจมีผลกระทบกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน อาจจะส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และโรคภูมิแพ้ อาจจะส่งผลให้เป็นโรคลมพิษและระบบทางเดินหายใจมีปัญหาหรือหายใจลำบากได้ ดังนั้นเราควรรับประทานแตงโมให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย