
ขนมจ๊อก
“ขนมจ๊อก” หรือที่ภาคกลางเรียกว่า “ขนมเทียน” เป็นขนมพื้นบ้านของคนเมืองเหนือ ที่นิยมทำกันทุกบ้านเมื่อมีเทศกาลงานบุญสำคัญต่างๆ เช่น งานปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันพระใหญ่ต่างๆ และงานบุญงานบวช เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านจะนำขนมนี้ไปทำบุญที่วัด โดยคำว่า “จ๊อก” นั้น เป็นคำเมือง ซึ่งหมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นกระจุกมียอดแหลม จึงเรียกกันว่า “ขนมจ๊อก”
โดยขนมจ๊อก ทำมาจากแป้ง กะทิ น้ำตาลหรือน้ำอ้อย ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลปี๊บ เกลือ และน้ำมันพืช นำมาผสมกันนวดให้เป็นก้อน ส่วนไส้นั้นแต่ดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าวเท่านั้น ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็มเท่าใดนัก ปัจจุบันมีผู้คนดักแปลงทำไส้ขึ้นมาอย่างหลากหลาย
ไส้หวานที่ทำมาจากมะพร้าว จะใช้มะพร้าวที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ที่เรียกว่า “มะพร้าวทึนทึก” นำมาขูดเป็นเส้นฝอยเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำอ้อยให้เข้ากันและจับตัวกัน ส่วนไส้เค็มนั้น ทำมาจากถั่วเขียวนึ่งแล้วนำมาบด ผสมหรือผัดกับเครื่องปรุงให้มีรสเค็มนำ
ความหมายและความสำคัญของขนมเทียน ขนมเทียนขนมหวานอีกหนึ่งชนิดที่ขาดไม่ได้ ที่ใช้ในการเซ่นไหว้ในวันตรุษจีน รู้หรือไม่ว่า ขนมเทียนนี้ไม่ใช่ขนมของคนจีนแต่ดังเดิม แต่ขนมเทียนนั้นเป็นขนมที่ชาวจีนโพ้นทะเลดัดแปลงมาจากขนมใส่ไส้ของไทย โดยปรับเปลี่ยนจากตัวแป้งที่ผสมจากแป้งข้าวเจ้ากับน้ำกะทิ มาเป็นแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำกะแทน ความหมายมงคลของขนมเทียนนั้น หมายถึง ความหวานชื่นราบรื่นของชีวิตเช่นเดียวกับขนมเข่ง นอกจากนี้รูปทรงสามเหลี่ยมเหมือนเจดีย์ยังเป็นสัญลักษณ์มงคลทางศาสนาอีกด้วย |
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน ขนมเทียน, ไส้เค็ม ในปริมาณ 1 piece (38g) มีพลังงานทั้งหมด 113.6 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 18.2 กรัม, ไขมัน 3.7 กรัม คุณค่าทางโภชนาการ ของ เนื้อมะพร้าว 100 กรัม พลังงาน 354 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ไขมัน 33 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม ไฟเบอร์ 9 กรัม แคลเซียม 14 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม |
ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. แป้งข้าวเหนียว 2. เม็ดสาคูสีเขียว 3. เกลือป่น 4. มะพร้าวขูด 5. น้ำตาล 6. น้ำเปล่าสะอาด 7. ใบตอง |
ขั้นตอนวิธีการทำ 1. นำใบตองที่ตัดมาจากต้นเช็ดด้วยผ้าที่สะอาดทั้งสองด้าน แล้วนำใบตองตากแดดไว้ วิธีนี้จะช่วยให้ใบตองอ่อนตัว ไม่แห้งกรอบเมื่อนำมาห่อขนม 2. เริ่มจากการทำไส้ขนมจ๊อก ขูดมะพร้าวให้เป็นเส้น ๆ ตั้งกระทะแล้วนำมะพร้าวขูดคั่วไฟปานกลาง ระหว่างนั้นให้เทน้ำตาล เกลือป่นเล็กน้อยลงมาผสม และคนเรื่อย ๆ จนน้ำตาลละลายเข้ากันได้ดีกับมะพร้าวขูด จึงปิดเตาพักไส้ไว้ให้เย็น 3. นำแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำเปล่า ใส่เม็ดสาคูเสียวเขียวลงไปเล็กน้อยเพื่อตกแต่งให้เนื้อแป้งมีสีสัน คลุกเคล้าจนแป้งเข้ากันได้ดี ไม่แข็ง และไม่ร่วนจนเกินไป จากนั้นพักแป้งไว้ในชาม 4. นำใบตองที่ตากแดดไว้ มาเช็ดให้ด้วยผ้าสะอาดอีกครั้ง ตัดใบตองให้มีขนาดความยาว เท่า ๆ กันทุกแผ่น 5. บิดแป้งในชามมาปั้นให้มีลักษณะวงรี ตักไส้มะพร้าวน้ำตาลวางลงบนแป้ง แล้วห่อให้ไส้อยู่ข้างใน จากนั้นนำแป้งที่ได้วางลงบนใบตองที่เตรียมไว้ หากกลัวว่าเนื้อขนมจ๊อกจะติดใบตอง ให้นำน้ำมันพืชทาลงบนใบตองก่อนจะวางขนมจ๊อกที่ปั้นกลมลงไป 6. วิธีการห่อขนมจ๊อกเริ่มจากการม้วนใบตองให้เป็นกรวย วางแป้งไว้ตรงกลาง พับใบตองด้านล่างสุด ตามด้วยด้านซ้าย ด้านขวา และจะเหลือด้านบนสุดที่มีลักษณะเป็นยอดแหลม ให้นำปลายยอดสอดเข้าไปข้างใต้ ก็จะได้ขนมจ๊อกรูปทรงสามเหลี่ยม 7. นำขนมจ๊อกไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 นาที ก็จะได้ขนมพื้นบ้านหอมกลิ่นใบตองไว้รับประทานยามว่าง |
ประโยชน์ของมะพร้าวอ่อน |
1. ช่วยเรื่องการบำรุงผิวพรรณ ในมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวมีความเปล่งปลั่ง และน้ำมะพร้าวยังช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ซึ่งจะส่งผลให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้
2. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจการทานมะพร้าวอ่อน และน้ำมะพร้าว อาจมรส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากไขมันในมะพร้าวอ่อนจะช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี และลดปริมาณไขมันชนิดไม่ดีให้กับร่างกาย ซึ่งไขมันชนิดไม่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การทานมะพร้าวอ่อนจึงเป็นการช่วยลดความเสียงของโรคหัวใจ และเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ได้
3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ในมะพร้าวอ่อนมีไขมันอิ่มตัวที่มีคุณสมบัติละลายน้ำดี (MCT) ซึ่งสารนี้มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมให้เข้าสู่กระดูกได้อย่างเต็มที่ ทำให้กระดูกและฟันของเราแข็งแรงขึ้น และช่วยชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
4. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายมะพร้าวเหมาะกับคนวัยทอง เพราะในมะพร้าวอ่อนจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายประสมดุลของฮอร์โมน ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ชะลอการเกิดริ้วรอย ไม่ว่าจะเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือชายวัยทองให้ดีขึ้นได้
5. ช่วยปรับสมดุล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในมะพร้าวมีสารที่ช่วยให้ร่างกาย ลดการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาล ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่การทานน้ำมะพร้าวในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะทำร่างการได้รับน้ำตาลในปริมาณที่สูงได้ไปได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการรับประทานมะพร้าว 1. คอเลสเตอรอล น้ำมันมะพร้าวมีปริมาณไขมันอิ่มตัว หรือคอเลสเตอรอลสูงถึง 90% จากปริมาณไขมันทั้งหมดที่มี ดังนั้นการรับประทานเพียงประทาน 30 มิลลิลิตร หรือมิลลิกรัม สามารถทำให้ร่างกายได้รับปริมาณไขมันเกินความต้องการได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำมันมะพร้าว หรือใช้ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น 2. โพแทสเซียม มะพร้าวมีปริมาณโพแทสเซียมสูง หากดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมทากเกินความต้องการ ส่งผลให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ อาเจียน หรือถึงขั้นหมดสติได้ 3. ฤทธิ์เย็น ด้วยความที่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น จึงช่วยให้ลดอุณหภูมิความร้อนของร่างกาย ช่วยดับกระหายและคลายร้อน แต่หากดื่มน้ำมะพร้าวมากเกินไปก็อาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดต่ำและมีผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกาย เช่น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 4. ใยอาหาร เนื้อมะพร้าว 1 ลูก มีปริมาณเส้นใยอาหารถึงประมาณ 4.6 กรัม ดังนั้นการรับประทานในปริมาณมากจึงอาจส่งผลทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยมากเกินไป ส่งผลต่อระบบการขับถ่าย ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ |