
ยำผักกาดส้ม
ยำผักกาดส้ม ก่อนที่จะนำผักกาดมาปรุง ต้องนำผักไปดองก่อน วิธีการดอง ใช้วิธีเดียวกับการดองผักกุ่ม แต่ใช้เวลาดองน้อยกว่า 2 วัน มีวิธีการปรุงเช่นเดียวกับยำผักกุ่มดอง ยำผักกาดดอง ต่างกันตรงที่จะใช้พริกแห้งย่างไฟ หรือพริกแต้แห้งย่างไฟ หรือคั่ว (เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550)
ผักกาดส้ม ชื่อสามัญ Curly Dock, Yellow dock[2] ผักกาดส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Rumex crispus L. จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)[1] สมุนไพรผักกาดส้ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เก่อบะซิ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชั่วโล่งจั๊วะ (ม้ง-เชียงใหม่), พะปลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส่วนคนแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักกาดส้ม”
ผักกาดส้ม (Curly Dock) เป็นพืชในวงศ์ไผ่ที่นิยมของชาวท้องถิ่น ผักกาดส้มเป็นชื่อเรียกของคนแม่ฮ่องสอนและเป็นผักที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นในแถบภาคเหนือและชาวกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวดังนั้นชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่น ๆ จึงนิยมนำลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน เป็นต้นที่มีประโยชน์ต่อการนำมาปรุงอาหารและเป็นยาสมุนไพรของชาวม้งและชาวล้านนา แต่ผักกาดส้มก็เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีพิษต่อร่างกายได้เช่นกัน
คุณค่าทางโภชนาการ |
ผักกาดส้ม เป็นต้นที่มีลักษณะคล้ายผักกาดแต่ไม่ได้มีสีส้มตามชื่อ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวจึงนิยมนำมาทานเป็นผักดองเค็มและนำมาใช้แทนมะนาวได้ ภายในต้นพบสารที่เป็นพิษต่อตับและไตจึงควรระวังในการนำมารับประทาน ผักกาดส้มมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปวดฟัน เป็นยาระบาย แก้หนองในและรักษาฝีได้
ส่วนผสมเครื่องแกง ไม่มี ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. พริกแห้ง 2. หอมแดง 3. กระเทียม 4. ปลาร้า 5. กะปิ 6. ตะไคร้ 7. น้ำพริกตาแดง 8. ผักกาดส้ม 9. ตะไคร้อ่อน 10. มะเขือเปราะอ่อน 11. ข่าเกือบแก่ 12. ผักชีต้นหอมอินทรีย์ |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. สูตรจะไม่เหมือนกับคนอื่นที่มักจะใช้ของสด แต่สูตรที่บ้านจะเผาเกือบทุกอย่างแล้วเอามาตำ คือพริกแห้งย่างไฟ หอมแดง กระเทียมหมก ปลาร้ากะปิหมก และตะไคร้หมก ตำให้ละเอียด (มันก็คือน้ำพริกตาแดงแค่มีตะไคร้เพิ่มมา) ขั้นตอนที่ 2. วันนี้ใช้น้ำพริกตำมือยายสมพร ที่ใช้เพราะละลายน้ำแล้วความเผ็ดไม่ลด ผักกาดดองได้มาจากเจ้าของน้ำพริกยายสมพรส่งมาให้เป็นของกำนัล ตะไคร้อ่อน มะเขือเปราะอ่อน ข่าเกือบแก่ ผักชีต้นหอมอินทรีย์ ขั้นตอนที่ 3. ตำข่าให้ละเอียด เอาใส่ในผักดองพร้อมน้ำ ผสมน้ำพริกตาแดง ใส่ตะไคร้ซอย มะเขือเปราะซอย คนให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลานิด ต้นหอมผักชี |
สรรพคุณของผักกาดส้ม 1. ชาวม้งจะใช้ยอดอ่อนนำมาอมหรือต้มกับไข่กินเป็นยาแก้ปวดฟัน (ใบ) 2. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากผักกาดส้ม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย (ราก) 3. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หนองใน (ราก) 4. รากนำมาทุบห่อผ้า ทำเป็นลูกประคบฝี หากฝีแตกแล้ว ให้ใช้รากฝนกับน้ำทาบริเวณที่เป็น (ราก) ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกาดส้ม 1. ทั้งต้นมีกรดออกซาลิก ซึ่งเป็นพิษต่อตับและไตของคน ทำให้เสียชีวิตได้ 2. รากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนู 3. แก่นมีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ในสัตว์ทดลอง ประโยชน์ของผักกาดส้ม 1. ใบนำมาแทนมะนาวใช้ใส่แกงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว 2. ชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่อง และเผ่าอื่น ๆ จะใช้ลำต้นและใบผักกาดส้มที่มีรสเปรี้ยว นำมาทำเป็นผักดองเค็ม ใช้กินเป็นกับแกล้มหรือกินกับข้าว 3. ในบางท้องถิ่นจะใช้รากของผักกาดส้มเป็นสีย้อมผ้าและหนัง |