
แกงเห็ดลม
แกงเห็ดลม เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารประเภทแกงของล้านนา โดยอธิบายถึง ความเป็นมา ในช่วงปลายฝนตนหนาว ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะมีเห็ดป่าขึ้นตามธรรมชาติ เห็ดลม ชาวบ้านนิยม นำมาแกงแบบสด ๆ รสชาดหอมหวนชวนทาน นับว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ แกงเห็ดลม นิยมใส่ชะอม ใบชะพลูลงไปด้วย ทำให้น้ำแกงมีรสชาติกลมกล่อม สำหรับสูตรนี้ ใส่ข่าและตระไคร้เป็นเครื่องแกง เพิ่มกลิ่นหอมของแกงด้วย |
ลักษณะทั่วไปของเห็ดลม |
สำหรับลักษณะของเห็ดลมนั้นบริเวณหมวกเห็ดจะเป็นทรงกรวยลึกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา ตรงขอบหมวกเห็ดจะงอลง และมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ส่วนดอกเห็ดนั้นจะม้วนงอลงมีขอบบาง ๆ ส่วนบริเวณครีบนั้นจะแคบและบาง ๆ โดยเมื่อแห้งแล้วจะค่อนข้างเหนียวและค่อนข้างแข็ง ซึ่งบริเวณขอบครีบนี้จะคล้ายกับฟันเลื่อย ก้านดอกจะเหนียว แข็ง และสากมือ และเนื้อเห็ดชนิดนี้จะเป็นสีขาวอมเทา
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลสารอาหาร สำหรับทางอาหารนั้น ทั้งดอกเห็ด นำมาแกงกับผักคราดหัวแหวน หรือรับประทานสด ดอกเห็ดอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกตาแดง ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน แกงเห็ด ในปริมาณ 1 มีพลังงานทั้งหมด 206.3 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 15.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 35.5 กรัม, ไขมัน 3.7 กรัม |
ส่วนผสมเครื่องแกง 1. พริกแห้ง 7 เม็ด 2. กระเทียม 10 กลีบ 3. หอมแดง 3 หัว 4. ข่าหั่น 1 ช้อนชา 5. ตะไคร้หั่น 2 ช้อนโต๊ะ 6. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ 7. ปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ 8. เกลือป่น 1 ช้อนชา ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. เห็ดลมอ่อน 2 ถ้วย 2. ชะอมเด็ด 1 ถ้วย 3. ชะพลูใบชะพลูหั่นหยาบ 1 ถ้วย |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด ขั้นตอนที่ 2. ผัดเครื่องแกงให้หอม เติมน้ำ ขั้นตอนที่ 3. พอน้ำเดือด ใส่เห็ดลม ต้มจนเห็ดสุก ขั้นตอนที่ 4. ใส่ชะอม ใบชะพลู พอผักสุก ปิดไฟ |
ประโยชน์ของเห็ด |
- มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง ในปี 2010 มีการศึกษาและถูกตีพิมพ์ในวารสาร Experimental Biology and Medicine ได้ทดสอบเห็ด 5 ชนิด ได้แก่ เห็ดไมตาเกะ เห็ดคริมมินิเห็ดกระดุมสีน้ำตาล เห็ดนางรม และเห็ด กระดุมสีขาว พบว่าสามารถยับยั้งการเติบโตและการสืบพันธุ์ของเซลล์มะเร็งเต้านมได้
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สารเลนทิแนน (Lentinan) ที่พบได้ในเห็ดหอม เป็นสารที่สามารถกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพได้นอกจากนี้ยังมีสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ที่พบได้ในเห็ดหอมและเห็ดทั่วไปหลายชนิด เป็นสารที่สามารถฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างสมดุล ไม่มากเกินหรือน้อยเกินไป
- เห็ดช่วยลดไขมันในเลือด เห็ดโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีคอเลสเตอรอล แต่มีไฟเบอร์ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ในปี 2012 ได้มีการศึกษาและรายงานผลในวารสารนานาชาติ Medicinal Mushrooms ว่าเห็ดนางรมสีชมพูลดปริมาณไขมันในเลือดของหนูทดลองที่มีระดับไขมันในเลือดสูงได้ ส่วนเห็ดหอมมีส่วนประกอบที่ช่วยการทำงานของตับ แถมยังขับคอเลสเตอรอลจากเส้นเลือด ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดและรักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ รวมทั้งกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตให้ทำงานดีขึ้น
- เห็ดเป็นแหล่งอาหารที่มีวิตามิน B และวิตามิน D สูงเห็ดเป็นอาหารไม่กี่ชนิดที่มีวิตามิน D มีรายงานว่าเห็ดกระดุมและเห็ดคริมมินิ มีปริมาณวิตามิน D สูง ซึ่งเห็ดคริมมินินั้นยังมีวิตามิน B12 ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ เพราะมีวิตามินดังกล่าวอยู่ในเนื้อสัตว์ด้วย และวิตามิน B นับว่ามีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก เพราะเป็นตัวช่วยในการนำอาหารเข้าไปให้พลังงานกับร่างกาย ส่วนวิตามิน D ก็ช่วยให้ร่างกายของเราดูดซึมแคลเซียมที่ทำให้กระดูกแข็งแรง
- เห็ดช่วยต่อต้านการอักเสบ เห็ดช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ช่วยลดอาการอักเสบของร่างกาย เพราะช่วยลดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น ต่อสู้กับเชื้อโรค ช่วยลดอาการภูมิแพ้ และชะลอการเติบโตของเนื้อร้าย
ตัวอย่างเมนูอาหารของเห็ดลม – นำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกชนิดต่างๆ พร้อมผักเพื่อสุขภาพ – แกงเห็ดลม – ยำเห็ดลม – คั่วเห็ดลม – ซุปเห็ดลม – ผัดผักน้ำมันหอยเห็ดลม – ลาบเห็ดลม |