admin@phraefoodthailand.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ อาหารจังหวัดแพร่


แกงหน่อไม้

แกงหน่อไม้ มักเรียกกันว่า แกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง หน่อไม้ที่นิยมนำมาแกง ได้แก่ หน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้บง หน่อไม้ไล่ หน่อไม้ไผ่สีสุก บางแห่งนิยมแกงใส่กระดูกหมู หรือปลาดุก หรือปลาช่อน หรือปลาย่าง หรือแคบหมู และบางแห่งนิยมใส่น้ำปูลงไปในถ้วยแกง เพื่อเพิ่มรสชาติของน้ำแกง (สิรวิชญ์ จำรัส, สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 487) แกงหน่อไม้เมืองเหนือส่วนใหญ่มักจะไม่นิยมใส่น้ำใบย่า น้ำแกงก็จะดูเข้มข้นอีกหน่อย แกงหน่อไม้สด หรือคนเหนือเรียก ๆ กันว่า แก๋งหน่อ นิยมแกงช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงหน้าหน่อมีหน่อไม้สด  บ้างก็มีการเติม น้ำปู๋ ผสมลงไปในแกงแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน บ้างก็ใส่เห็ดใส่ผักต่างๆเช่นยอดฟักทอง ข้าวสาลีอ่อน  หรือใบย่านาง หลังจากช่วงฤดูนี้ก็จะเป็นหน่อไม้ที่แปรรูปรักษาไว้  เช่น ทำเป็นหน่อไม้ดอง  หน่อไม้ถุง ไว้กินในฤดูที่ไม่มีหน่อไม้สด หน่อไม้ หรือ Bamboo Shoot เป็นต้นอ่อนของไผ่ พืชตระกูลหญ้า POACEAE วงศ์ย่อย Bambusoideae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bambuseae แตกเป็นหน่อจากเหง้าไผ่ใต้ดิน
หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่กินได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมกินในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหลาย
คุณค่าทางโภชนาการ ในหน่อไม้ 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใยอาหาร 2.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.0 กรัม น้ำตาล 3.0 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม มีทั้งไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว โพแทสเซียม 533 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม โซเดียม 4 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 3 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 20 IU. วิตามินบีหนึ่ง 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.18 มิลลิกรัม วิตามินบีสาม (ไนอะซิน) 1.2 มิลลิกรัม วิตามินบีหก (ไพริด็อกซิน) 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 4.0 มิลลิกรัม ส่วนข้อมูลโภชนาการแกงหน่อไม้, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ในปริมาณ 1 ถ้วย มีพลังงานทั้งหมด 149 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 20.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม, ไขมัน 2 กรัม อีกทั้งมี เข่น เกลือโซเดียม, คอเลสเตอรอล, วิตามิน, ไขมันอิ่มตัว, ไขมันไม่อิ่มตัว, น้ำตาล, กากไยอาหาร
ส่วนผสมเครื่องแกง
1. พริกชี้ฟ้า 7 เม็ด            2. กระเทียม 1 หัว
3. หอมแดง 3 หัว             4. ตะไคร้ 1 หัว
5. น้ำปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ
7. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ           8. น้ำปลา 1+1/2 ช้อนโต๊ะ
9. ผงชูรส 1 ช้อนชา           10. ผงปรุงรส 1 ช้อนชา
11. น้ำตาล 1/2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนผสมวัตถุดิบ
1. น้ำใบย่านางคั้น 1 ถ้วยใหญ่ 2. หน่อไม้สดหั่นเป็นชิ้นบาง 300 กรัม
3. เห็ดรวมมิตร 200 กรัม     4. ยอดชะอม 6-7 ยอด
5. ฟักทองหั่นพอดีคำ 200 กรัม  6. บวบหั่นพอดีคำ 200 กรัม
7. ใบชะพลู 2-3 ใบ       8. น้ำปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1. นำหน่อไปที่หั่นไว้ไปต้มให้สุกจนมีรสหวาน
ขั้นตอนที่ 2. ใส่น้ำใบย่านางลงในหม้อต้มหน่อไม้ รอเดือด
ขั้นตอนที่ 3. ใส่เครื่องแกงลงไป คนให้เข้ากัน ต้มสักพัก ให้เครื่องแกงสุก มีกลิ่นหอม
ขั้นตอนที่ 4. ใส่ฟักทอง บวบ และเห็ด รอเดือดจนสุก ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาล ผงชูรส ผงปรุงรส น้ำปลาร้าต้มสุก ชิม ปรุงเพิ่มตามชอบ
ขั้นตอนที่ 5. ใส่ใบชะพลูและยอดชะอม คนให้เข้ากัน ตักใส่ภาชนะ พร้อมเสิร์ฟ
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
1. หน่อไม้เป็นพืชที่มีสารอาหารและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด การรับประทานหน่อไม้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น
2. บำรุงสุขภาพลำไส้ หน่อไม้เป็นพืชที่มีใยอาหารสูง โดยสารอาหารชนิดนี้เป็นจะช่วยให้ระบบการทำงานของลำไส้ทำงานเป็นปกติ รวมถึงอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่น โรคริดสีดวงทวาร โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) และมะเร็งลำไส้
3. อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) ที่พบได้ในหน่อไม้อาจมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่า ผู้ที่รับประทานหน่อไม้ซึ่งมีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้อยู่ มีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมและระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low–Density Lipoprotein: LDL) ลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร
4. อาจช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ด้วยความที่หน่อไม้เป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำ โดยหน่อไม้ 1 ถ้วยหรือประมาณ 155 กรัม ให้พลังงานเพียง 64 กิโลแคลอรี่ หน่อไม้จึงอาจเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนัก อีกทั้งหน่อไม้ยังมีใยอาหาร ซึ่งเป็นสารอาหารที่อาจช่วยให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้ไวและนานขึ้น จึงอาจช่วยควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารได้
ข้อควรระวังในการรับประทานและการเลือกซื้อหน่อไม้

1. ควรนำหน่อไม้ไปผ่านความร้อน เช่น ต้ม เผา ก่อนรับประทาน เพราะหน่อไม้เป็นพืชมักพบสารไซยาไนด์

(Cyanide) ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อร่างกายอยู่ แต่สารพิษนี้จะลดน้อยลงหากนำหน่อไม้ไปทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน

2. ควรหลีกเลี่ยงการซื้อหน่อไม้ที่บรรจุถุงหรือปี๊บ เนื่องจากหน่อไม้เหล่านี้อาจปนเปื้อนสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Botulism) ได้

3. หน่อไม้เป็นพืชที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งเป็นสารที่อาจส่งผลให้กรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น ผู้ป่วยโรคเก๊าท์หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับกรดยูริก อย่างผู้ป่วยโรคไต จึงควรจำกัดปริมาณการบริโภคให้เหมาะสม

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้ที่ต้องการรับประทานหน่อไม้ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และรับประทานอาหารให้หลากหลาย และที่สำคัญควรปรุงหน่อไม้ให้สุกก่อนทุกครั้ง และหากรับประทานแล้วเกิดอาการผิดปกติใด ๆ เช่น ปวดศีรษะ หายใจไม่ออก มึนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

About

อาหารล้านนาชวนให้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยที่ผสมผสานความเผ็ด เค็ม หวาน และเปรี้ยวได้อย่างลงตัว สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

Tags

There’s no content to show here yet.

Gallery