
แกงมะละกอใส่ปลาดุก
แกงมะละกอใส่ปลา เนื่องจากช่วงใกล้แล้งน้ำในบ่อที่สวนของลดลง ทำให้ช่วงนี้สามารถจับปลาได้ง่าย ข้อดีของการกินปลาฤดูนี้คือปลาจะอ้วนถ้วนสมบูรณ์และมีไข่ปลาด้วย นำมาแกงจะอร่อย และประกอบกับการหามะละกอมาทดแทนในส่วนของการผลของฝักเขียวเป็นมะละกอ ซึ่งก็ให้รสชาติใหม่และเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไป อีกประการคือหาได้ง่ายตามพื้นที่บ้าน มะละกอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งในวงศ์มะละกอ (Caricaceae) สูงประมาณ 5–10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในมีโซอเมริกา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณเม็กซิโกตอนใต้ถึงอเมริกากลาง ก่อนนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ |
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน แกงมะละกอ ในปริมาณ 1 มีพลังงานทั้งหมด 59.9 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 1.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 12.9 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม อีกทั้งมี เกลือโซเดียม, คอเลสเตอรอล, วิตามิน, ไขมันอิ่มตัว, ไขมันไม่อิ่มตัว, น้ำตาล, กากไยอาหาร มะละกอดิบ มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี วิตามินอี |
ส่วนผสมเครื่องแกง 1. พริกขี้หนู (แล้วแต่ชอบเผ็ด) 15 เม็ด 2. พริกแดง 3 เม็ด 3. ตะไคร้ 2 หัว 4. ขมิ้น ๒-๔ หัว 5. มะข่วง 1 ช้อนชา 6. ปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. มะละกอดิบ 1 ลูก 2. ปลาดุกหั่นชิ้น 1 ตัว 3. ใบแมงลัก 1 กำ 4. น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาวสำหรับปรุงรส 6. น้ำเปล่า 1 1/2 ถ้วย 7. ใบชะพลู 2-3 ใบ7. น้ำปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊ |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. ตั้งหม้อใส่น้ำเปล่า รอเดือด ใส่เครื่องแกง ขั้นตอนที่ 2. ใส่มะละกอ รอสุก ใส่ปลา รอสุก ปิดไฟ ขั้นตอนที่ 3. ใส่ใบแมงลัก ปรุงรสด้วยเกลือ และ น้ำมะกรูด โรยผักชีต้นหอม |
ประโยชน์และสรรพคุณ มะละกอ 1. ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องผูก มะละกอดิบและสุกมีไฟเบอร์สูง มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยระบบการขับถ่าย บำรุงธาตุ แก้ท้องผูก ช่วยกำจัดคราบโปรตีนเก่าที่ร่างกายย่อยไม่หมด ทั้งยังมีสารช่วยเคลือบกระเพาะและลำไส้ ลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น 2. ช่วยระบบทางเดินอาหาร สารอาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคจากมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหาร จับพิษสารก่อมะเร็งในสารอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ 3. ช่วยบำรุงสายตา 15. แกงมะละกอใส่ปลาดุก เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารประเภทแกงของล้านนา โดยอธิบายถึง ความเป็นมา แกงมะละกอใส่ปลา เนื่องจากช่วงใกล้แล้งน้ำในบ่อที่สวนของลดลง ทำให้ช่วงนี้สามารถจับปลาได้ง่าย ข้อดีของการกินปลาฤดูนี้คือปลาจะอ้วนถ้วนสมบูรณ์และมีไข่ปลาด้วย นำมาแกงจะอร่อย และประกอบกับการหามะละกอมาทดแทนในส่วนของการผลของฝักเขียวเป็นมะละกอ ซึ่งก็ให้รสชาติใหม่และเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไป อีกประการคือหาได้ง่ายตามพื้นที่บ้าน มะละกอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งในวงศ์มะละกอ (Caricaceae) สูงประมาณ 5–10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในมีโซอเมริกา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณเม็กซิโกตอนใต้ถึงอเมริกากลาง ก่อนนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน แกงมะละกอ ในปริมาณ 1 มีพลังงานทั้งหมด 59.9 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 1.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 12.9 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม อีกทั้งมี เกลือโซเดียม, คอเลสเตอรอล, วิตามิน, ไขมันอิ่มตัว, ไขมันไม่อิ่มตัว, น้ำตาล, กากไยอาหาร มะละกอดิบ มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี วิตามินอี ส่วนผสมเครื่องแกง 1. พริกขี้หนู (แล้วแต่ชอบเผ็ด) 15 เม็ด2. พริกแดง 3 เม็ด 3. ตะไคร้ 2 หัว 4. ขมิ้น ๒-๔ หัว 5. มะข่วง 1 ช้อนชา 6. ปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. มะละกอดิบ 1 ลูก 2. ปลาดุกหั่นชิ้น 1 ตัว 3. ใบแมงลัก 1 กำ 4. น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาวสำหรับปรุงรส 6. น้ำเปล่า 1 1/2 ถ้วย 7. ใบชะพลู 2-3 ใบ7. น้ำปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊ ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. ตั้งหม้อใส่น้ำเปล่า รอเดือด ใส่เครื่องแกง ขั้นตอนที่ 2. ใส่มะละกอ รอสุก ใส่ปลา รอสุก ปิดไฟ ขั้นตอนที่ 3. ใส่ใบแมงลัก ปรุงรสด้วยเกลือ และ น้ำมะกรูด โรยผักชีต้นหอม ประโยชน์และสรรพคุณ มะละกอ 1. ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องผูก มะละกอดิบและสุกมีไฟเบอร์สูง มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยระบบการขับถ่าย บำรุงธาตุ แก้ท้องผูก ช่วยกำจัดคราบโปรตีนเก่าที่ร่างกายย่อยไม่หมด ทั้งยังมีสารช่วยเคลือบกระเพาะและลำไส้ ลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น 2. ช่วยระบบทางเดินอาหาร สารอาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคจากมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหาร จับพิษสารก่อมะเร็งในสารอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ 3. ช่วยบำรุงสายตา มะละกออุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยการทำงานของจอประสาทตาและการมองเห็น เบต้าแคโรทีนในมะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อม 4. เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มะละกอมีวิตามินเอ วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย 5. บรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน วิตามินซีในมะละกอ มีส่วนช่วยในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงและเลือดหยุดไหล 6. บำรุงเลือด บำรุงน้ำนม สารอาหารในมะละกอมีส่วนช่วยบำรุงเลือด และช่วยขับน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอดให้ไหลดีมากขึ้น มะละกอสุกยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาทของคุณแม่อีกด้วย 7. ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มะละกอมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากเบาหวานได้ ซึ่งวิตามินซีและอีช่วยการทำงานของเอนไซม์พาราออกโซโนส ต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระของคอเรสเตอรอล เส้นใยอาหารยังช่วยลดคอเลสตอรอล กรดโฟลิกใช้เปลี่ยนกรดอะมิโฮโมซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโนซิสเทอีนดี 8. มีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านมะเร็ง เบต้าแคโรทีนมีส่วยช่วยในการป้องกันเซลล์ร้ายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย มะละกอจึงเป็นผลไม้ช่วยต้านมะเร็งที่น่าสนใจ 9. ฤทธิ์ต้านอักเสบ มะละกอมีเอนไซม์ปาเปนและไคโมปาเปนช่วยย่อยโปรตีน ลดการอักเสบ กระตุ้นการสมานแผล จากงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะละกอดิบช่วยเร่งการสมานแผล นอกจากนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอีในมะละกอ ยังช่วยในการต้านการอักเสบเช่นกัน ดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยในปัจจุบันมีการสกัดเอนไซม์จากมะละกอเป็นยาเม็ด ช่วยลดอาการบวม การอักเสบจากแผลผ่าตัด ข้อควรระวัง แม้ว่ามะละกอจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ แต่หากทานมากไปก็มีโทษได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะมะละกอสุกมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลค่อนข้างสูง |