admin@phraefoodthailand.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ อาหารจังหวัดแพร่


แกงผักขี้เสียดใส่ปลาแห้ง (ส้มเซียน)

ผักขี้เสียด หรือผักขี้เขียด หรือผักสีเสียด แกงพื้นบ้านภาคเหนือ นิยมนำมาแกงกับปลาแห้ง มะเขือเทศลูกเล็ก และมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักขี้ขวง หรือแกงผักขวง หรือสะเดาดิน อาหารพื้นบ้านล้านนา (เทียนชัย สุทธนิล, สัมภาษณ์, 19 มิถุนายน 2550) ลักษณะทั่วไป พืชล้มสุก ลำต้นแผ่แบนราบไปตามพื้นดิน  เป็นกอเล็ก ๆ  ขนาดประมาณ  1  คืบ  ลำต้น  กิ่งก้าน  กลม  สีแดง  ผิวสีน้ำตาลปนแดง  ใบรูปรี  ขนาดกว้าง  0.5 – 1 เซนติเมตร  ยาว  1 – 2  เซนติเมตร  ใบอ่อนสีเขียวเป็นมันงอกออกตามกิ่งหรือลำต้น  ใบแก่สีเขียวเข้มหรือออกสีแดง   ดอกขนาดเล็กงอกออกตามซอกใบสีขาวปนแดง  เมื่อดอกโรยจะเกิดผลขนาดเล็กหรือสีดำหรือน้ำตาล มีรสชาติขมเล็กน้อย เป็นผักพื้นบ้านที่มีอยู่เฉพาะบางฤดูกาล นิยมนำมาแกงและลวกจิ้มน้ำพริก

คุณค่าทางโภชนาการ
ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี น้ำ 90.3% เส้นใยอาหาร 1.1 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม เถ้า 1.7 กรัม แคลเซียม 94 มิลลิกรัม เหล็ก 1.8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม วิตามินซี 19 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.45 มิลลิกรัม วิตามินบีสาม 2.7 มิลลิกรัม
ส่วนผสมเครื่องแกง
1. พริกแห้ง 5 เม็ด                  2. พริกขี้หนูแห้ง 3 เม็ด
3. กระเทียม 20 กลีบ             4. หอมแดง 3 หัว
5. กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ              6. เกลือ 1 ช้อนชา
ส่วนผสมวัตถุดิบ
1. ผักขี้เสียด 100 กรัม            2. ปลาแห้ง 50 กรัม
3. มะเขือเทศลูกเล็ก 4 ลูก
ขั้นตอนการทำ          
ขั้นตอนที่ 1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
ขั้นตอนที่ 2. ต้มน้ำ พอเดือด ละลายเครื่องแกงในน้ำเดือด
ขั้นตอนที่ 3. ใส่ปลาแห้ง ต้มจนปลานุ่ม ใส่มะเขือเทศ
ขั้นตอนที่ 4. ใส่ผักขี้ขวง พอผักสุก ปิดไฟ
ประโยชน์และสรรพคุณ
เป็นสมุนไพรบำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้หวัด แก้ไอ ทาแก้ฟกช้ำบวมอักเสบ แกงผักขี้ขวง อาหารรสขมแต่มีประโยชน์ทางยา  นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคผิวหนัง แก้คัน ใช้หยอดหูแก้ปวดหู มีสารต้านมะเร็งสูง จัดอยู่หนึ่งในเก้าสิบชนิดพืชต้านมะเร็งได้ สูงถึง 50-70 % สรรพคุณ : ทั้งต้น มีรสขมเย็น ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงน้ำดี แก้ไข้ทั้งปวง ระงับความร้อน และถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะเป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก ปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือยาฆ่าเชื้อ แต่ถ้าผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้ว นำไปอุ่น จะเป็นยาแก้ปวดหู หยอดหู มีสารต่อต้านมะเร็ง
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
1. การใช้สีเสียดเป็นยาสมุนไพร ควรคำนึงถึงความปลอดภัย เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่น คือ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และไม่ควรใช้เกินปริมาณที่กำหนดตามตำรายา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
2. ในการเลือกใช้สีเสียดก้อนนั้นควรคำนึงถึงความสะอาด และควรเลือกสีเสียด ก้อนที่ไม่มีสิ่งปลอมปนอื่น ๆ ติดมาหรือควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจได้



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

About

อาหารล้านนาชวนให้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยที่ผสมผสานความเผ็ด เค็ม หวาน และเปรี้ยวได้อย่างลงตัว สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

Tags

There’s no content to show here yet.

Gallery