
แกงปลีใส่ปลาแห้ง
แกงปลี คือแกงปลีกล้วย เป็นแกงผักชนิดหนึ่ง นิยมแกงกับเนื้อหมู ส่วนผสมผักที่ขาดไม่ได้ คือมะเขือเทศลูกเล็ก ใบชะพลู และชะอม ที่มาสืบเนื่องจากคนในภาคเหนือมักชอบปลูกต้นกล้วยไว้หลังบ้านหรือตัวบ้าน ดังนั้นเมื่อต้นกล้วยหลังบ้านออกลูก จึงต้องตัดปลีออกเพื่อกล้วยจะได้ลูกโต จึงพยายามหาวิธีการนำเอาปลีมาดัดแปลงปรุงเป็นอาหารบ้างเพราะความเสียดาย “แกงหัวปลี” เป็น อาหารเหนือ ทำจาก หัวปลี หรือ ดอกกล้วย นำมาแกงกับพริกแกง ที่ทำจากกระเทียมไทย หอมแดง พริกแห้ง กะปิ ปลาร้า แล้วใส่มะเขือเทศ ใบชะพลู ใบชะอม เป็นผักกินคู่กัน ปรุงรสด้วย น้ำปลาเล็กน้อย ทำให้ได้รสชาติเผ็ด เค็ม |
คุณค่าทางโภชนาการ หัวปลี นับเป็นกระแสอาหารเพื่อสุขภาพที่มาแรงในต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มคนกินมังสวิรัติ เพราะหัวปลีมีเส้นใยเหนียวแน่น ให้รสสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ ที่สำคัญหัวปลีมีแคลอรีต่ำ มีประโยชน์ในการบำรุงเลือด หัวปลีมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง ช่วยขับน้ำนมของหญิงหลังคลอดบุตร โดยให้รับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดใหม่ ๆ จะช่วยขับน้ำนมได้ดีมาก ลดระดับน้ำตาลในเลือด สารสกัดจากหัวปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ค่อนข้างมาก และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ป้องกันการอักเสบในร่างกายได้ และอื่น ๆ ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน หัวปลี, ปลีกล้วย, ดอกกล้วย ในปริมาณ 100 g มีพลังงานทั้งหมด 28 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม, ไขมัน 0 กรัม |
ส่วนผสมเครื่องแกง 1. กระเทียม 4-5 กลีบ 2. หอมแดง 5 หัว 3. กะปิ 1 ช้อนชา 4. เกลือ 1 หยิบมือเล็ก 5. น้ำปลาเพื่อปรุงรส ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. มะเขือเทศ (ถ้ามีมะเขือลูกเล็กจะอร่อยกว่า, ใช้ 4-5 ลูก) 1 ลูก 2. ชะอม 1 มัดเล็ก 3. น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง 4. ปลี 1 หัว 5. หัวกระดูกหมู 150 กรัม 6. พริกชี้ฟ้าแห้ง (เพื่อรสชาด) 2 เม็ด 7. พริกขี้หนูแห้ง 1 เม็ด |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. เตรียมเครื่องปรุงทั้งหมด. ล้างกระดูกหมู, ล้างพริกแห้ง (ถ้าจะให้ตำง่ายขึ้นให้หั่นหยาบๆ ก่อน), ปลอกกระเทียมและหอมแดง ขั้นตอนที่ 2. แกะปลีให้เหลือแต่ส่วนอ่อนๆ สังเกตได้จากสีของปลีจะเป็นสีขาวครีมนวล ๆ แกะทิ้งไว้ยังไม่ต้องหั่น, เด็ดชะอมเตรียมไว้, หั่นมะเขือเทศเตรียมไว้ ขั้นตอนที่ 3. เทน้ำใส่หม้อ ใส่กระดูกหมู และใส่กระเทียม 1 กลีบ ตั้งไฟให้น้ำเดือด ขั้นตอนที่ 4. โขลกพริกแห้งกับเกลือพอแหลก, ใส่กระเทียม, กะปิ, หอมแดง แล้วโขลกหยาบ ขั้นตอนที่ 5. เอาพริกที่โขลกไปละลายในน้ำซุปกระดูกหมูที่เดือด แล้วใส่มะเขือเทศ ต้มต่อพอให้มะเขือเทศสุก จากนั้นหั่นปลีใส่ในน้ำแกงที่กำลังเดือด ต้มต่อประมาณสามถึงห้านาทีพอให้ปลีสุก, ใส่ชะอมที่เด็ดเตรียมไว้ชิมและปรุงด้วยน้ำปลาให้ถูกปากแล้วปิดไฟ (ถ้าใครมีใบชะพลูก็ให้ฉีกใสตอนใส่ชะอม กลิ่นจะหอมกลมกล่อมนักเชียว) ขั้นตอนที่ 6. ตักเสิร์ฟ พร้อมข้าวสวย (หรือข้าวเหนียว) |
สรรพคุณของหัวปลี 1. ขับน้ำนม ด้วยสรรพคุณหัวปลีที่ช่วยบำรุงเลือด ทำให้หัวปลีมีประโยขน์ในการช่วยขับน้ำนมของหญิงหลังคลอดบุตร โดยให้รับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดใหม่ ๆ จะช่วยขับน้ำนมได้ดีมาก 2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาในวารสาร Phytoterapy Research เมื่อปี 2000 เผยผลการวิจัยฤทธิ์ของหัวปลีกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยทดลองให้หนูกินหัวปลี 0.15-0.25 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ตลอดระยะเวลา 30 วัน ซึ่งพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง และมีระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ยังอยู่ในขอบเขตของสัตว์ทดลองเท่านั้น ส่วนการทดลองในคนยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 3. ลดการอักเสบในร่างกาย ในหัวปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า มีทานอล ซึ่งงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science and Biotechnology เมื่อปี 2010 พบว่า สารสกัดจากหัวปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ค่อนข้างมาก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ป้องกันการอักเสบในร่างกายได้ 4. ประจำเดือนมามาก หัวปลีช่วยได้ แมัห้วปลีจะมีสรรพคุณบำรุงเลือด แต่สำหรับสาว ๆ ที่ประจำเดือนมามากเกินไป (ต้องใช้ผ้าอนามัยเกิน 5 ชิ้นต่อวัน) หัวปลีจะช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนให้ได้ค่ะ โดยหัวปลีมีสรรพคุณกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ช่วยให้ปริมาณเลือดประจำเดือนที่มามาก มาเกินความจำเป็นลดน้อยลงไปได้ 5. ช่วยต้านเศร้า หัวปลีมีแมกนีเซียม ธาตุอาหารสำคัญที่มีผลรักษาอาการซึมเศร้า 6. รักษาโรคกระเพาะ ยางจากหัวปลีมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีใช้ให้นำหัวปลีมาเผาแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้ได้ประมาณครึ่งแก้ว ใช้เป็นยาเคลือบกระเพาะก่อนรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง 7. บำรุงเลือด หัวปลีมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอดบุตร |
ข้อควรระวังในการกินหัวปลี |
1. หัวปลีเป็นสมุนไพรที่มีแป้งซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในทีหลัง ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็พยายามอย่ากินหัวปลีเยอะจนเกินไป เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้