admin@phraefoodthailand.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ อาหารจังหวัดแพร่


แกงบอลใส่หนังหมู

แก๋งหลามบอนหรือแก๋งบอน

แกงบอน บางแห่งเรียก “หลามบอน” หลามบอนบางท้องที่ แกงบอนที่เอาไปใส่กระบอกไม้ไผ่ดิบ แล้วนำไปย่างถ่านไม้ เหมือนข้าวหลาม ไม่ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืช การเรียกแกงบอน บางคนถือเคล็ด ให้เรียกว่า แกงผักหวาน เพราะกลัวว่าจะทำให้คันปาก บางตำรับ ก่อนนำบอนมาแกง จะแขวนผึ่งลมไว้ 1 คืน ก่อนที่จะนำมาแกง เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามลำห้วยริมหนองน้ำเป็นพืชล้มลุกอวบน้ำมีหัวใต้ดินใบรูปไข่แกมรูปหัวใจปลายใบแหลมหรือมน
คุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางโภชนาการของใบบอน ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 112 แคลอรี คาร์โบไฮเดรต 25.8 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใยอาหาร 1.0 กรัม น้ำ 70.0 % เถ้า 1.0 กรัม วิตามินเอ 103 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.15 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 84 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม
ส่วนผสมเครื่องแกง
1. พริกแห้ง                    2. ข่า
3. ตะไคร้                       4. กระเทียม
5. เกลือ
ส่วนผสมวัตถุดิบ
1. ใบบอนอ่อน 2. ปลาร้าบดละเอียด หากไม่มีใช้นำปลาร้าได้
3. หมูสับ หรือหมูสามชั้น หั่นเล็ก ๆ หรือใช้หนังหมู หนังวัวได้
4. ใบมะกรูดหันฝอย
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1. ล้างหมู หั่นหมูเป็นชิ้นเล็ก ๆ เตรียมบอนเลือกที่อ่อน ล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อน ขั้นตอนที่ 2. นำส่วนผสมเครื่องแกงทั้งหมดโขลกพอเครื่องแกงละเอียดใส่เนื้อปลาลงไป (จะปลาย่าง/ปลาทูแล้วแต่ความชอบ) ใส่เนื้อปลาลงไปในครกโขลกให้ละเอียด
ขั้นตอนที่ 3. เตรียมน้ำปลาร้า ต้มน้ำปลา 1 ถ้วย ใส่ปลาร้าคนให้ปลาละลาย เดือดแล้วเอาผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำ
ขั้นตอนที่ 4. นำเครื่องแกงที่โขลกกับเนื้อปลาละเอียดแล้วผัดกับน้ำมันและกะทิให้หอม
ขั้นตอนที่ 5. เตรียมหม้อตั้งเตา ใส่กะทิ ใส่น้ำเปล่า ต้ม แล้วใส่หมูสามชั้น ตามด้วยบอน ใส่เกลือไม่ต้องมาก ต้มจนบอนเปื่อยนิ่ม แล้วก็ใส่พริกแกงที่เตรียมไว้ ใส่น้ำปลาร้า
ขั้นตอนที่ 6. ปรุงรสด้วยผงปรุงรส น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำมะขามเปียก ใบมะกรูด
ขั้นตอนที่ 7. รสชาติเค็ม หวาน เปรี้ยวเล็กน้อย เผ็ดไม่มาก เดือดแล้วใส่ใบมะกรูด ตักเสิร์ฟร้อน ๆ รับประทานได้เลย
ประโยชน์ของบอน
1. ไหลและหัวใต้ดินนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ส่วนใบอ่อนและก้านใบอ่อน สามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงบอน เป็นต้น หรือจะนำมาลอกจิ้มน้ำพริกรับประทาน แต่ต้องทำให้สุกก่อนจึงจะไม่คัน โดยนำมาต้ม 2-3 ครั้ง แล้วคั้นเอาน้ำทิ้งหรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร (เวลาปอกเปลือกควรสวมถุงมือและสับเป็นท่อน ๆ ก่อนนำไปต้มนอกจากนี้ก้านบอนยังนำมาดองได้อีกด้วย
2. ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบบอนมาต้มให้หมูกิน หรือจะใช้ก้านใบนำมาสับผสมเป็นอาหารหมู
3. ใบบอนมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่เปียกน้ำ เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบผิวใบอยู่ จึงนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการห่อของได้ เช่น การใช้ห่อข้าวหมาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้ตักน้ำดื่มยามไม่มีภาชนะได้อีกด้วย
4. ต้นบอนสามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้านด้วยการตัดก้านบอนมาลอกเปลือกแล้วตากให้แห้ง ส่งขายเป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่ง
5. ใบบอนดูแล้วมีความสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบนะครับ อีกทั้งต้นบอนยังช่วยรักษาฝายชั่ง แม่น้ำลำคลอง ไม่ให้ถูกกัดเซาะจากคลื่นได้
 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบอน
1. วิธีการเลือกบอน ให้เลือกใช้ต้นอ่อนพันธุ์สีเขียวสดและไม่มีสีขาวนวลเคลือบอยู่ตามแผ่นใบและก้านใบ โดยบอนสีเขียวสดจะเรียกว่า “บอนหวาน” (ชนิดคันน้อย) ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่าและมีสีขาวนวลกว่าจะเรียกว่า “บอนคัน” (ชนิดคันมาก) ส่วนที่นำมาใช้แกงคือ หลี่บอน เป็นยอดอ่อนหรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้กับโคนต้น
2. ก่อนการปอกเปลือกก้านบอนถ้าไม่ใส่ถุงมือ ก็ให้ทามือด้วยปูนแดงที่กินกับหมากให้ทั่วทั้งมือก่อน เวลาปอกควรล้างบอนให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
3. ห้ามล้างด้วยน้ำเย็น แล้วนำไปต้มใส่ในน้ำเดือดและคั้นน้ำทิ้งประมาณ 2-3 ครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร แต่บางคนอาจนำไปเผาก่อนก็ได้ หรือจะนำไปปรุงกับเครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขามเปียก มะดัน ส้มป่อย น้ำมะกรูด เป็นต้น หรือจะนำมาขยำกับเกลือเพื่อให้ยางบอนออกมากที่สุดเพื่อช่วยดับพิษคันหรือช่วยทำลายผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่มีอยู่มากในต้นบอน
4. การนึ่งบอนต้องนึ่งให้สุก จับดูแล้วมีลักษณะนิ่มจนเละ เพราะถ้าบอนไม่สุก เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการระคายคอได้
5. ในการปรุงแกงบอน หากไม่ใช้น้ำมะขามเปียก ก็ให้ใช้น้ำส้มป่อยแทนก็ได้
6. แม่ครัวสมัยก่อนจะถือเคล็ดด้วยว่า หากปรุงอาหารด้วยบอนอยู่นั้น ห้ามใครเอ่ยถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความคันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการคันขึ้นมาจริง ๆ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับประทาน



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

About

อาหารล้านนาชวนให้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยที่ผสมผสานความเผ็ด เค็ม หวาน และเปรี้ยวได้อย่างลงตัว สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

Tags

There’s no content to show here yet.

Gallery