
แกงขนุน
แกงขนุน
แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน แต่ก่อนนิยมทำในงานบุญ เพราะชื่อที่เป็นมงคล หมายความไปถึงการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน แกงขนุนเป็นหนึ่งในอาหารมงคลของชาวเหนือ เพราะชื่อขนุน หรือบ่าหนุน นิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในประเพณีพื้นเมืองของล้านนาถือว่าเป็นอาหารที่นิยมหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวเหนือ โดยมีความเชื่ออยู่ว่าในวันปากปี (วันเริ่มต้นปี) ถ้าได้กินแกงขนุนแล้วจะหนุนนำชีวิตให้ดีขึ้นตลอดทั้งปี |
คุณค่าทางโภชนาการ |
ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากโปรตีน ไขมัน และกากใยอาหาร อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย ขนุนอ่อนเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินซี และมีโปรตีนจากซี่โครงหมู แกงขนุนจึงเป็นอาหารที่มีสรรพคุณในการบำรุงน้ำนม สมานแผลในกระเพาะ และลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมนูบ้าน ๆ ที่ทำไม่ยากมาแนะนำกันจากผลขนุนอ่อน ซึ่งมีปลูกกันแทบทุกบ้านในละแวกนี้ ส่วนใหญ่มักออกผลดกจนต้องแบ่งนำมาแปรรูปเป็นอาหารชนิดอื่นรับประทานกันพลาง ๆ ระหว่างรอผลขนาดใหญ่สุก ขนุนอ่อนมีคุณทางอาหารมากมาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กากใย วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เคล็ดลับการเลือกขนุนอ่อนเพื่อนำมาแกง ควรใช้ขนุนอ่อนที่เมล็ดข้างในยังไม่แก่จัดเพราะเมื่อนำมาแกงเนื้อจะสุกง่ายกำลังดี ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน แกงขนุน ในปริมาณ 1 จาน มีพลังงานทั้งหมด 123 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม, ไขมัน 7 กรัม
ส่วนผสมเครื่องแกง 1. พริกแห้ง (20เม็ด/ตามใจชอบ) 2. กระเทียม 3. หอมแดง 4. ข่า 5. ปลาร้า / กะปิ 6. เกลือ 7. ผักชี ต้นหอม (หั่น) ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. หมูสามชั้น / ซี่โครงหมู 4. ชะอม 2. ขนุนอ่อน (ต้ม/หั่นพอดีคำ) 5. ใบชะพลูหั่นหยาบ ครึ่งถ้วย 3. มะเขือเทศ |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. วิธีทำ นำพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่า มาตำให้เข้ากันตามด้วยน้ำปลาร้า ขั้นตอนที่ 2. ตั้งน้ำมันให้ร้อน นำน้ำพริกที่ตำ มาใส่แล้วผัดๆ ให้หอม ตามด้วยหมูตามชั้นของเรา มาผัดให้เข้ากัน ขั้นตอนที่ 3. ผัดหอมแล้ว ใส่น้ำลงไปไม่ต้องเยอะมาก (ปรุงรสตามใจชอบ) ขั้นตอนที่ 4. เดือดแล้ว ใส่ขนุนลงไป ตามด้วยชะอม มะเขือเทศ เดือดแล้วชิม ลงถ้วยได้ |
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง 1. เนื้อขนุน สุกมีรสหวานมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานรวมถึงผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรรับประทานแต่พอดี 2. ตามตำราแพทย์แผนไทยระบุไว้ว่า ขนุนเป็นผลไม้รสร้อน ดังนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้นได้ และอาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติได้ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรรับประทานแต่น้อย และไม่ควรรับประทานคู่กับสุราเพราะอาจทำให้อาการของโรคความดันโลหิตสูงกำเริบได้ |