
ยำผักกาดดอง
ผักดอง เป็นผักอีกชนิดที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และการกินผักดองก็ให้คุณประโยชน์ให้แก่ร่างกายของคุณได้ไม่แพ้กับผักสด คนส่วนใหญ่มักนิยมนำผักดองมาทานคู่กับข้าวต้มร้อน ๆ หรือนำมาเป็นเครื่องเคียงประกอบในเมนูต่าง ๆ
ผักกาดดองทำมาจากผักกาดเขียวปลี เป็นพืชล้มลุกอายุสั้น ลำต้นอวบน้ำมีรสขมเล็กน้อย นิยมนำมาทำผักกาดดองทั้งแบบดอกเปรี้ยวและดองเค็ม เมื่อดองแล้วจะยังคงสภาพความเป็นผักกาด กรอบ อร่อย ไม่เปื่อยยุ่ย ผักกาดพันธุ์ที่นิยมนำมาดองคือ พันธุ์ปลีกลม
ผักกาดดองเป็นอีกหนึ่งอาหารหมักดองที่นำไปปรุงอาหารอร่อยๆ ได้หลายเมนู แต่สำหรับใครที่ชอบรับประทานผักกาดดอง อยากได้รับประโยชน์จากผักกาดดองแต่กังวลในเรื่องความสะอาด หากไม่มั่นใจในขั้นตอนการผลิตสามารถดองรับประทานเองได้ง่ายๆ แถมยังมั่นใจได้ว่าอร่อยและสะอาดแน่นอน
คุณค่าทางโภชนาการ ผักดอง เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่ไม่ได้แตกต่างจากการผักสดมากนัก แต่อาจให้โปรตีนแก่ร่างกายได้น้อยกว่า ถึงอย่างไรก็ยังคงเต็มไปด้วยวิตามินที่มีความเข้มข้นสูงอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ดังนี้ การรับประทานแบบควบคู่กับอาหาร วิตามินเอ มากกว่า 60% แคลเซียม 4% โพแทสเซียม 5% วิตามินเค 1/3 ของร่างกายที่คุณต้องการในแต่ละวัน การรับประทานแบบสด วิตามินเค 23% แคลเซียม 7% โพแทสเซียม 5% วิตามินซี 3%-4% |
ส่วนผสมเครื่องแกง ไม่มี ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. ผักกาดดอง 2 ถ้วย 2. มะเขือเปราะซอย 1/2 ถ้ว 3. พริกขี้หนูแห้งคั่ว 10 เม็ด 4. ข่าป่น 1 ช้อนโต๊ะ 5. ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ 6. ปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ 7. เกลือ 1/2 ช้อนชา 8. ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ 9. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. หั่นผักกาดดองพอคำ ใส่ชามพร้อมกับน้ำผักกาดดอง พักไว้, ขั้นตอนที่ 2. โขลกพริกขี้หนูแห้งคั่ว และตะไคร้ซอยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รวมกันให้ละเอียด ขั้นตอนที่ 3. ใส่เครื่องที่โขลก น้ำปลาร้า เกลือ และข่าป่น ลงในชามผักกาดดอง คลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนที่ 4. ใส่ตะไคร้ซอย และมะเขือเปราะซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนที่ 5. โรยด้วยผักชีต้นหอมซอย |
ประโยชน์ของผักดอง
1. การหมักผัก หรือกรรมวิธีการแปรรูปของผักดอง เป็นการถนอมอาหารอีกเทคนิคหนึ่งโดยมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชูเป็นหลัก และเครื่องเทศอื่น ๆ มาช่วยปรุงรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคตามขั้นตอนของผู้ผลิต โดยการทานผักดองนั้น มักให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเรา ดังต่อไปนี้
2. รักษากล้ามเนื้อตะคริว
จากงานวิจัยในปี 2010 แสดงการทดสอบของผู้ชายรายหนึ่งที่มักเป็นตะคริวบ่อย ๆ โดยให้ดื่มน้ำผักดอง หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ พบว่า อาการเกิดตะคริวบ่อยครั้งลดลงอย่างรวดเร็ว นั่นอาจเป็นเพราะผักดองมีคุณสมบัติช่วยควบคุมสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolysis) ได้เป็นอย่างดี และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเหงื่ออย่างมากจากการออกกำลังกายได้
3. ระบบย่อยอาหาร ผักดองเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงเรื่องของระบบย่อยอาหาร และดูแลสุขภาพลำไส้ของคุณเป็นอย่างดี ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โปรไบโอติก (Probiotics) เบตาแคโรทีน (Beta-Carotene) ในผักแต่ละชนิด โดยเฉพาะแตงกวาดอง
4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การที่ใช้น้ำส้มสายชู และเกลือเป็นส่วนประกอบหลักในการหมัก อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ควรทานให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่ควรให้ร่างกายได้รับสารจากน้ำส้มสายชูมากเกินไป เพราะอาจกัดกร่อนกระเพาะได้
ข้อควรระวังของผักกาดดอง 1. สารบอแรกซ์ บางแหล่งเมื่อผลิตผักกาดดองอาจจะใส่สารบอแรกซ์ลงไปเพื่อให้ผักคงความกรอบ อร่อย ซึ่งหากรับประทานในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นพิษต่อไตและสมองได้ 2. ความสะอาด การทำผัดกาดดอง ส่วนใหญ่จะทำครั้งละเยอะ ๆ ใส่โอ่ง ไหหรือภาชนะขนาดใหญ่ ทำให้ควบคุมในเรื่องความสะอาดได้ยาก อาจจะมีปนเปื้อนระหว่างผลิต เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้เป็นโรคท้องร่วงได้ 3. เสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษ คลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium pergringens) เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นเชื่อที่พบได้ทั่วไปตามดิน น้ำ อากาศ ซึ่งผักกาดดองง่ายต่อการปนเปื้อนเชื้อนี้หากไม่มีขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน 4. โซเดียมสูง การดองผักกาด วัตถุดิบสำคัญที่นำมาใช้ดองก็คือเกลือนั่นเอง ดังนั้นไม่ควรทานผักกาดดองในปริมารมากๆหรือทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะการได้รับโซเดียวในปริมาณสูงเกินไปเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตและความดันโลหิตสูงได้ |