
ยำจิ๊นไก่
ยำเนื้อไก่ ชื่อยำจิ๊นไก่เพราะคาดว่าน่าจะเอาเนื้อไก่ที่ต้มสุกมายำกับผักและพริกลาบ แล้วใช้น้ำต้มไก่ใส่ลงไปเพิ่ม ยำจิ๊นไก่ ถือเป็นอาหารชั้นดีชนิดหนึ่ง ซึ่งหลังจากที่มีการทำพิธีเลี้ยงผีถ้วยไก่ต้มแล้ว มักจะนำไก่ต้มมายำเสมอ บ้างนำพริกลาบ หรือเครื่องปรุงลาบ มาปรุงยำจิ๊นไก่ได้เลย เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำเอาส่วนผสมที่เป็นของที่สุกแล้ว ลงไปผสมกับเครื่องปรุง (สิรวิชญ์ จำรัส, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 5518)
เนื้อไก่ เป็นเนื้อสัตว์ที่มาจากไก่ มีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ เมื่อเทียบกับเนื้อวัวหรือเนื้อหมู เนื้อไก่ได้รับความนิยมในอาหารทั่วโลก สามารถดัดแปลงเป็นอาหารได้หลากหลายประเภท ในแต่ละท้องที่
เนื้อไก่สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายวิธี ทั้งการอบ การย่าง บาร์บีคิว การทอด เป็นต้น นับตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื้อไก่เป็นส่วนสำคัญของอาหารประเภทอาหารจานด่วน ในบางครั้งอาจถือว่าเนื้อไก่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อแดง เพราะมีคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวที่น้อยกว่า
คุณค่าทางโภชนาการ |
ข้อมูลโภชนาการ, แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน ยำไก่ฉีก ในปริมาณ 1 มีพลังงานทั้งหมด 191.9 กิโลแคลอรี่,โปรตีน 38.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.4 กรัม, ไขมัน 3.9 กรัม
ส่วนผสมเครื่องแกง 1. พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด 2. ดีปลีคั่ว 2 เม็ด 3. เม็ดผักชีคั่ว 1 ช้อนชา 4. กะปิ 1 ช้อนชา 5. ปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนชา 6. เกลือ 1/2 ช้อนชา ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. ไก่ต้ม 300 กรัม 2. ข่าหั่น 5 แว่น 3. ตะไคร้ 2 ต้น 4. สะระแหน่ซอย 1 ช้อนโต๊ะ 5. ใบมะกรูด 5 ใบ 6. ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ 7. ผักชีฝรั่งซอย 1 ช้อนโต๊ะ 8. ผักไผ่ซอย 1 ช้อนโต๊ะ 9. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ 10. กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ 11. หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ 12. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. โขลกดีปลี เม็ดผักชีคั่ว และพริกขี้หนูแห้งคั่ว รวมกันให้ละเอียด ขั้นตอนที่ 2. เจียวกระเทียมกับน้ำมัน ใส่กะปิและปลาร้า เครื่องแกงลงผัดให้หอม ขั้นตอนที่ 3. ใส่น้ำต้มไก่ พอเดือด ใส่หอมแดงซอย ใส่เนื้อไก่ฉีกโรยด้วยผักชีฝรั่งและอื่น ๆ |
ประโยชน์ของเนื้อไก่ |
1. เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโต สร้างกล้ามเนื้อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน
2. อุดมด้วยวิตามินบีรวม เช่น วิตามินบี 12 ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจางได้ มีไนอะซิน (วิตามินบี 3) วิตามินบี 5 และ 6 ที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงาน
3. มีฟอสฟอรัส ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
4. เป็นแหล่งของธาตุเหล็กที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจางและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
5. มีสังกะสี ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบภายในร่างกาย
6. ยังมี ซิลีเนียม ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยควบคุมการทำงานฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ช่วยชะลอความแก่และป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย
7. มีไขมันน้อย เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ในทางโภชนาการจัดเนื้อไก่เป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ สามารถเลือกเป็นแหล่งโปรตีนที่ช่วยดูแลน้ำหนักได้ดี
ข้อควรระวัง |
การบริโภคเนื้อไก่อย่างปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อไก่ที่สด สะอาด ปลอดภัย ไม่เก่าเก็บนานเกินไป โดยสังเกตสถานที่จำหน่ายมีสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” และต้องปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อน เช่น แซลโมเนลล่า (Salmonella spp.) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หากได้รับเชื้อรุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้