
พล่าหมูแตงกวา
พล่า เป็นอาหารไทยประเภทยำ ใช้เนื้อสัตว์สด ๆ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา พริก ตะไคร้ฝอย ใบสะระแหน่ เป็นต้น พล่าต่างจากยำตรงที่พล่ามักใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่สุกมาก คลุกกับผักและเครื่องปรุงแบบยำแต่ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และน้ำพริกเผาเพิ่มเข้ามาด้วย พล่ายังคล้ายกับแสร้งว่า แต่แสร้งว่าเป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มผักดิบมักใช้กุ้งที่ย่างหรือลวกจนสุกโดยพล่าหมู คือเนื้อหมูที่นำมาทำนั้นจะต้องเป็นหมูที่ติดมันนำไปย่างบนเตาไฟโดยใช้ไฟปานกลางให้พอสุกไม่ต้องให้สุกมากเพราะเนื้อหมูจะแข็งเกินไป ซอยเป็นแผ่นบางๆ นำไปพล่าใส่แตงกวา ปรุงรสให้เปรี้ยวนำโดยใช้น้ำมะนาวสด ซอยตะไคร้ใส่ลงไปรับรองอร่อยอย่างแน่นอน รับประทานเป็นอาหารหรือทำเป็นกับแกล้มก็อร่อยมาก สมัยก่อนพล่าหมูสามชั้น นั้นทำกันแบบดิบ ๆ จะได้รสความสด และหวานของหมูสามชั้น เคี้ยวเหนียวนุ่ม แต่ ณ ปัจจุบัน การรับประทานหมูดิบ ไม่เป็นผลดีอาจทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา ดังนั้น พล่าแบบสุก ๆ จะมีความความปลอดภัยกว่า และ จะใส่ตะไคร้หรือไม่ใส่ก็ได้ เพื่อเพิ่มรสสมุนไพรทางสุขภาพได้ |
คุณค่าทางโภชนาการ ข้อมูลโภชนาการ แคลอรี่, พลังงาน และสารอาหาร ใน พล่าเนื้อ ในปริมาณ 236 มีพลังงานทั้งหมด 215 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 29.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 14.1 กรัม, ไขมัน 4.3 กรัม ประโยชน์เต็ม ๆ จากสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่นได้ประโยชน์จากสะระแหน่ ที่ช่วยขับลมทำให้ไม่เกิดอาการแน่นท้อง และช่วยดับกลิ่นปากจากความคาวของเนื้อสัตว์ (เพราะคนส่วนใหญ่ชอบทานเนื้อสัตว์แบบดิบกัน จึงต้องใช้สมุนไพรมากลบกลิ่นคาวของอาหาร) อีกทั้งตะไคร้สดนี้ ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร เเละอุดมไปด้วยไฟเบอร์เเละวิตามินส่วนมะนาวสดก็ได้วิตตามินซี |
ส่วนผสมเครื่องแกง ไม่มี ส่วนผสมวัตถุดิบ 1. เนื้อหมูย่างสุก 200 กรัม 2. แตงกวาลูกเล็กหั่นบาง ๆ 15 ลูก 3. หอมแดงซอย 5 หัว 4. พริกขี้หนูซอย 20 เม็ด 5. ตะไคร้ซอย 1 ต้น 6. สะระแหน่ 3 ต้น 7. กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ 8. น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ 9. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ 10. ผงปรุงรส 1/2 ช้อนชา |
ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนที่ 1. หั่นเนื้อหมูบาง ๆ ใส่ชามใบใหญ่แล้วนำแตงกวาที่หั่นแล้วใส่ลงไป ขั้นตอนที่ 2. ละลายกะปิกับน้ำอุ่น 1 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในชามหมู แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา ผงปรุงรส คลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนที่ 3. ใส่ตะไคร้ซอย พริกขี้หนูซอย หอมแดงซอย ลงไป คลุกเคล้าอีกแล้วชิมรสชาติ ปรุงรสเพิ่มได้ตามชอบ ตักใส่จานปิดท้ายด้วยวางสาระแหน่ |
ข้อควรระวัง |
ทั้งนี้ การรับประทานอาหารทุกครั้งควรยึดหลักกินร้อนช้อนกลางล้างมือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ น้ำตก ก้อย ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสาน หรือ หลู้ ส้า อาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ รวมถึงเมนูที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย เช่น กุ้งเต้น พล่าปลา กุ้งแช่น้ำปลา ยำหอยแครง อาหารทะเลปิ้งย่าง เป็นต้น และหากจะรับประทานอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นอาหารที่ทำไว้นานเกิน 4 ชั่วโมงหรือเก็บไว้ค้างคืน ต้องนำมาอุ่นให้เดือดด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อน