
มะแน่,มะนอแน่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : Custard apple, Sugar apple, Sweet sop
ชื่ออื่นๆ
เงี้ยว-ภาคเหนือ : มะออจ้า, มะโอจ่า
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน : หน่อเกล๊าะแซ
ภาคเหนือ : มะนอแน่, มะแน่
เขมร : เตียบ
ภาคอีสาน : หมักเขียบ
ภาคกลาง : น้อยหน่า
ภาคใต้ : น้อยแน่
ปัตตานี : ลาหนัง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น ขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 3 – 5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นก้านเล็กๆ สีน้ำตาลแดงใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ก้านใบสั้น แผ่นใบบางสีเขียวเข้ม ท้องใบหรือใต้ใบสีเขียวอ่อนผล เป็นผลกลุ่มอยู่อัดกันแน่น ดูคล้ายเป็นผลใหญ่ผลเดียว ลักษณะรูปทรงค่อนข้างกลมหรือป้อม โคนผลรูปหัวใจ เปลือกผลสีเขียวอมเทา ผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูนหรือเป็นตา มีร่องตามแนวเนื้อหุ้มเมล็ด แต่ละช่องจะมีเนื้อสีขาวหุ้มเมล็ด เนื้อในทานได้มีรสหวาน เมื่อผลแก่ตรงขอบ ช่องนูนนั้นจะออกสีขาว เปลือกจะอ่อนนุ่ม
เมล็ด ลักษณะรูปรี สีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน เนื้อในเมล็ดสีขาว
คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่าต่อ 100 กรัม พลังงาน 94 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 23.64 กรัม, เส้นใย 4.4 กรัม, ไขมัน 0.29 กรัม, โปรตีน 2.06 กรัม, วิตามินบี 1 0.11 มิลลิกรัม 10%, วิตามินบี 2 0.113 มิลลิกรัม 9%, วิตามินบี 3 0.883 มิลลิกรัม 6% , วิตามินบี 5 0.226 มิลลิกรัม 5% , วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม 15%, วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%, วิตามินซี 36.3 มิลลิกรัม 44%, ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%, ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม 5%, ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%, ธาตุแมงกานีส 0.42 มิลลิกรัม 20%, ธาตุฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม 5%, ธาตุโพแทสเซียม 247 มิลลิกรัม 5%, ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 1%, ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1% |
ประโยชน์ของน้อยหน่า ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และดวงตา น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน และรักษาสุขภาพ (แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นข้อยกเว้น) ช่วยรักษาโรคหอบหืด (วิตามินซี) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (เส้นใย)ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (วิตามินบี 3) ช่วยลดความดันโลหิต (โพแทสเซียม) ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ใบน้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอก (ใบ) ช่วยรักษาโรคไขข้อและโรคข้ออักเสบ (แมกนีเซียม) ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แมกนีเซียม) ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย (แมกนีเซียม) ช่วยส่งเสริมการผลิตพลังงานในร่างกาย (วิตามินบี) ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) (ทองแดง) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต) ช่วยทำให้อาเจียน (ราก) ช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือกปวดฟัน (เปลือกต้น) ช่วยในการย่อยอาการ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ผล) ใช้เป็นยาระบาย (ราก) แก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น) ช่วยแก้รำมะนาด (เปลือกต้น) ช่วยรักษาโรคเริม (ผลแห้ง) ใช้แก้พิษงู (ผล, ราก, เปลือกต้น) แก้งูสวัด (ผลแห้ง) ช่วยสมานแผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น) ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ อักเสบ น้ำร้อนลวก (ผล) น้อยหน่ามีสรรพคุณใช้แก้ฝีในลำคอ (ผล) ใช้แก้ฝีในหู (ผลแห้ง) เมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดหรือใบน้อยหน่าสดนำมาคั้นเอาน้ำ แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ผล, ใบสด, เมล็ด) ประโยชน์ของใบน้อยหน่า ใช้เป็นยารักษาหิด ด้วยการใช้สดหรือเมล็ดสดมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ จนกว่าหิดจะหาย (ใบ, เมล็ด) ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม (ใบ) ช่วยฆ่าพยาธิ (ผล, ใบ) |
ข้อควรระวัง |
น้ำคั้นจากใบน้อยหน่า ต้องระวังอย่าให้ถูกบริเวณตาหรือเปลือกตา บริเวณรูจมูก ริมฝีปาก เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้ ต้องให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที น้ำสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เยื่อบุตาอักเสบได้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรบริโภคน้อยหน่าแต่เล็กน้อยและนาน ๆ ครั้ง เนื่องจากน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด การรับประทานปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานกำเริบขึ้นได้