admin@phraefoodthailand.com

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ อาหารจังหวัดแพร่


มะขามป้อม

ชื่อสมุนไพร มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อพื้นเมือง กันโตด (เขมร), กำทวด (ราชบุรี), มิ่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยมแม่ฮ่องสอน), อะมะลา (ฮินดู, เปอร์เซีย)ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อสามัญ Emblic myrabolan, Malacca tree, Indian gooseberry.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae
ลักษณะทั่วไปของมะขามป้อม
มะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้วได้ดี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8–20 เมตร ขนาดโตวัดรอบไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้าเรียบเกลี้ยง สีน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีชมพูสด เรือนยอดรูปร่ม
 ใบมะขามป้อมมีใบเป็นช่อ แต่ละช่อมีใบย่อยเล็กๆ รูปขอบขนานติดเป็นคู่ ๆ เยื้อง ๆ กัน ปลายใบมน มีรอยหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ สีเขียวอ่อน กว้าง 0.25–0.50 เซนติเมตร ยาว 0.8–1.2 เซนติเมตร เรียงชิดกัน ก้านใบสั้นมาก ใบย่อยจำนวน 22 คู่ เส้นใบไม่ชัดเจน เส้นกลางใบเห็นได้ราง ๆ
 ดอกมะขามป้อม มีดอกเล็ก สีขาวนวล แยกเพศกัน แต่เกิดบนกิ่งและต้นเดียวกัน ออกดอกตามง่ามใบ 3–5 ดอก มีกลีบรองดอก 6 กลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมี 6 แฉก ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน
ผลมะขามป้อม กลม มีเนื้อหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2–2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเขียวค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ๆ ตามยาวพอสังเกตได้ 6 เส้น เนื้อกินได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง 6 สัน มี 6 เมล็ดใน 1 ผล
ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ประมาณเดือนกันยายน และเป็นผลประมาณเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม-มกราคม-กุมภาพันธ์

ณค่าทางโภชนาการอาหาร
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานสารอาหารของลูกมะขามป้อมสด เปรียบเทียบกับลูกมะขามป้อมแช่อิ่ม ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
สารอาหาร                ผลสด             แช่อิ่ม              หน่วย
พลังงาน                  58.00           222              แคลอรี
น้ำ                       84.10            37.60             กรัม
ไขมัน                      0.50            0.60              กรัม
คาร์โบไฮเดรต           14.30          59.80             กรัม
เส้นใยอาหาร              2.40           1.00              กรัม
โปรตีน                    0.07            0.50              กรัม
แคลเซียม                  29                39              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส               21               18             มิลลิกรัม
เหล็ก              0.5             1.4                มิลลิกรัม
วิตามินเอ      100                –                   หน่วยสากล
วิตามินบี      10.03             0.03               มิลลิกรัม
วิตามินบี      20.04             0.09               มิลลิกรัม
ไนอะซิน        0.2               0.1                มิลลิกรัม
วิตามินซี     276                 3                   มิลลิกรัม
เมนูตัวอย่างจากมะขามป้อม
1. น้ำพริกมะขามป้อมและน้ำมะขามป้อม
ส่วนผสมวัตถุดิบ
1. เนื้อมะขามป้อม 1/2 ถ้วยตวง
2. หอมแดงซอย 1 หัว
3. กระเทียมไทย 4-5 กลีบ
4. กะปิห่อใบตองเผาให้หอม 1 ช้อนโต๊ะ
5. พริกขี้หนูสวนสีเขียวและสีแดง 10 เม็ด
6. น้ำตาลปี๊บ 1+1/2 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
8. ปลาสลิดกรอบ
9. ไข่เค็ม
10. ผักสดตามชอบ เช่น แตงกวา ถั่วพู แครอท ขมิ้นสด
ขั้นตอนวิธีการทำ
1. โขลกเนื้อมะขามป้อมพอละเอียด ตักขึ้นพักไว้
2. โขลกหอมแดง กระเทียม และกะปิพอละเอียด ใส่เนื้อมะขามป้องลงไป
3. ใส่พริกขี้หนูลงไปโขลกพอแตก ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บและน้ำปลา โขลกส่วนผสมพอเข้ากันอีกครั้ง ตักใส่ภาชนะ จัดเสิร์ฟพร้อมปลาสลิด ไข่เค็ม และผักสดตามชอบ
ประโยชน์ด้านสุขภาพ
มีวิตามินซีสูงมากกว่าส้ม และผลไม้อีกหลายชนิด มีสารแทนนิน และโพลิฟีนอล ช่วยป้องกันไม่ให้วิตามินซีสลายตัว และทำให้วิตามินซีคงตัวได้นานขึ้นมะขามป้อมสด จะช่วยลดอาการกระหายน้ำได้ และหากดื่มน้ำเปล่าตามลงไป ยิ่งทำให้ชุ่มคอมากขึ้นด้วยช่วยบรรเทาอาการหวัด แก้ไอ ลดอาการเจ็บคอ เพราะรสเปรี้ยวของมะขามป้อม ช่วยละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ชุ่มคอ เสียงใส และป้องกันเสียงแห้งได้อีกด้วยช่วยลดไข้ เพราะมะขามป้อมเป็นยาเย็น จะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน เพราะ ผลวิจัยชี้ว่า วิตามินซีในมะขามป้อม มีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซีสกัด ทำให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้ดี และทำให้อาการเลือดออกตามไรฟันดีขึ้นได้แก้อาการท้องผูก ช่วยส่งเสริมระบบการขับถ่าย และยางของมะขามป้อม มีฤทธิ์ในการระบาย จึงมีการนำมาสกัดเป็นยาระบาย แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจท้องเสียได้
ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของต้นมะขามป้อม เปลือกจากลำต้น ใช้เปลือกที่แห้ง บดให้เป็นผงละเอียด โรยแก้บาดแผลเลือดออก และแผลฟกช้ำใบมะขามป้อม นำใบสดมาต้ม ดื่มแก้บวมน้ำ นำมาตำพอก หรือทาบริเวณแผลผื่นคัน มีน้ำหนอง น้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบผลมะขามป้อม ผลสดกินเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ และสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟันและคอแห้งผลแห้ง บดให้เป็นผง ชงดื่มแก้ตกเลือด ท้องเสีย โรคบิด แก้โรคดีซ่าน และโรคโลหิตจางราก ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสีย
ข้อควรระวังในการทานมะขามป้อม
โดยทั่วไปการทานมะขามป้อมค่อนข้างมีความปลอดภัย หากทานในปริมาณที่พอดี แต่มีข้อควรระวัง ดังนี้ หญิงมีครรภ์ และคนที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยง เพราะยังไม่พบข้อมูลยืนยันความปลอดภัยมะขามป้อมอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือรอยช้ำ ได้ในบางคน ควรระวัง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนทานผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดทานมะขามป้อมอย่างน้อย 2 อาทิตย์ เพื่อความปลอดภัย
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระวังเป็นพิเศษ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนทาน เพราะมะขามป้อม อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง เพราะตามหลักทฤษฎีพบว่า การทานมะขามป้อมกับสมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง บอระเพ็ด กำยาน อาจส่งผลให้การทำงานของตับในผู้ป่วยโรคไตแย่ลง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการทานมะขามป้อมเพียงอย่างเดียวจะส่งผลเหมือนกันหรือไม่ และในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลรายงานถึงปฏิกิริยาของมะขามป้อมกับยา หรือสมุนไพรอื่น ๆ
มะขามป้อม จัดเป็นยารสเปรี้ยว ฝาด เย็น สำหรับผู้ที่หนาวเย็นง่าย ไม่ควรทานมะขามป้อม ต่อเนื่องมาก ๆ เกินจำเป็น
ผู้ที่มีปัญหาเลือดจาง ใส หรือเหลวกว่าปกติ ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม
ผู้ที่แน่นท้อง ไฟธาตุน้อย ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับยาน้ำแก้ไอสูตรผสมผงมะขามป้อม ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย ควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Search

About

อาหารล้านนาชวนให้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยที่ผสมผสานความเผ็ด เค็ม หวาน และเปรี้ยวได้อย่างลงตัว สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

Tags

There’s no content to show here yet.

Gallery